ในหลวงรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร (ภาคอีสาน)
กะฉ่อนวาไรตี้
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร (ภาคอีสาน)
วันที่ ๒-๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน ซึ่งก็เป็นการสร้างประวัติศาสตร์เช่นกัน เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคอีสานมาก่อนเลย เนื่องจากเส้นทางคมนาคมยังทุรกันดาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จไปถึงโคราชเมื่อมีทางรถไฟถึง แต่ก็เป็นการเสด็จประพาสต้นส่วนพระองค์ ไม่ให้ราษฎรรู้ข่าว
การเสด็จพระราชดำเนินของทั้งสองพระองค์ในครั้งนี้ ทรงมีพระราชดำรัสผ่านพระยารามราชภักดี ปลัดกระทรวงมหาดไทยว่า ให้ทางจังหวัดต่างๆที่เตรียมการรับเสด็จ ยึดถือหลักประหยัดให้มากที่สุด พระองค์ไม่ถือว่าที่ประทับในการรับเสด็จจะเล็กหรือใหญ่อย่างใด ให้ถือเอาการประหยัดเป็นหลักสำคัญในการรับเสด็จ และขออย่าให้มีการเกณฑ์ราษฎรมารับ
ข่าวการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรภาคอีสานได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว แม้สื่อการประชาสัมพันธ์สมัยนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพนัก แต่การร่ำลือปากต่อปากก็ทำให้แพร่ไปอย่างทั่วถึง ประชาชนแม้ในถิ่นทุรกันดารต่างหอบเสื่อหอบหมอน ข้าวปลาอาหาร จูงลูกจูงหลาน ชักชวนกันมาเฝ้า ทั้งในตัวเมืองที่กำหนดเป็นสถานที่รับเสด็จ หรือตามเส้นทางเสด็จผ่านทางถนนและทางรถไฟ แม้แต่บนยอดภูกระดึง ก็ยังมีราษฎรพากันเดินทางขึ้นไปเฝ้าชมพระบารมีกันมากมาย ต่างจัดหาข้าวของมีค่าที่จะหาได้ ทั้งของเก่าแก่ประจำตระกูล ของกินของใช้ ตลอดจนของป่าพื้นเมือง นำไปทูลเกล้าฯถวายทั้งสองพระองค์ด้วยความจงรักภักดี และด้วยปรารถนาที่จะเข้าเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิดที่สุด ซึ่งต่างก็ประทับใจในพระราชจริยาวัตรอันงดงาม และปลื้มปีติในพระมหากรุณาธิคุณ อันเป็นความทรงจำที่มีค่ายิ่งของชีวิต
ที่สถานีรถไฟนครราชสีมา มีราษฎรมาเฝ้ารับเสด็จเป็นแสนคน โดยเดินทางมาจากอำเภอต่างๆ ทำให้โรงแรมในเมืองทุกแห่งเต็มหมดจนต้องพักกันตามศาลาวัด ทั้งสองพระองค์เสด็จลงจากรถไฟพระที่นั่ง ประทับโดยรถยนต์ ผ่านซุ้มรับเสด็จที่สวยงามกว่า ๕๐ ซุ้มไปที่อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ทรงวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ เกิดความชุลมุนขึ้นเล็กน้อย เมื่อมีราษฎรพยายามออกจากแถวรับเสด็จเพื่อหมอบกราบพระบาททั้งสองพระองค์
ในวันนั้น ฝนซึ่งไม่ได้ตกในนครราชสีมาเป็นเวลานานแล้ว ก็โปรยลงมาขณะที่แดดยังอ่อนๆ มหาดเล็กนำพระมาลามาถวาย แต่ทรงปฏิเสธ ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปในหมู่ราษฎรที่มาเฝ้าในสายฝน ทรงรับของถวายและทรงทักทายเป็นระยะทางยาวหลายกิโลเมตร เด็กหญิงคนหนึ่งถูกเบียดจนเซ จึงคว้าพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไว้กันล้ม ทรงพระเมตตาให้ราษฎรได้เฝ้าอย่างใกล้ชิดในบรรยากาศที่ชุ่มชื่นเป็นเวลาถึง ๒ ชั่วโมงกว่า ผู้เฒ่าผู้แก่ต่างยกมือขึ้นเหนือหัวกล่าวว่า....
"...บารมีของในหลวงองค์นี้ล้นเหลือนัก เหมือนฟ้ามาโปรด แต่นี้ไปความแห้งแล้งจะหมดไปจากอีสานละ..."
ที่อำเภอโนนไทย มีราษฎรมารอเฝ้าเป็นจำนวนมาก ขณะที่ประทับอยู่บนที่ว่าการอำเภอ ราษฎรจะขอนำของขึ้นมาถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้รับสั่งกับนายอำเภอว่า...
"...ฉันจะลงไปหาเอง ไม่ต้องให้ขึ้นมาหรอก ให้เขาอยู่นั่นแหละ...."
แล้วเสด็จลงไปเยี่ยมอย่างใกล้ชิด ทรงห่วงใยในเรื่องน้ำทำนา ทรงซักถามเรื่องนี้เป็นพิเศษ มักจะรับสั่งถามว่า...
"...ฝนแล้งขาดน้ำไหม ชลประทานช่วยดีไหม..."
สมเด็จพระนางเจ้าฯบรมราชินีนาถฯ ก็ทรงทักทายกับราษฎรเคียงข้างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีรับสั่งกับหญิงชราผู้หนึ่งว่า...
"...มารอนานแล้วหรือจ๊ะ ฉันมาช้าไปเพราะราษฎรมากเหลือเกิน ต้องแวะเยี่ยมเขาตลอดทาง..."
มีเด็กอายุ ๔ เดือนคนหนึ่งร้องไห้จ้า สมเด็จฯรับสั่งกับแม่เด็กว่า...
"...เอาผ้าปิดเสียซีจ๊ะ แดดร้อนเดี๋ยวจะเป็นไข้..."
แต่เด็กก็ยังไม่หยุดร้อง จึงทรงดีดนิ้วเปาะๆ ทำให้เด็กหัวเราะได้ ทรงรับสั่งว่า...
"...ยิ้มได้แล้ว เด็กชื่ออะไรจ๊ะ..."
แม่เด็กทูลว่า...
"...ชื่อสุวรรณชาติ..."
รับสั่งว่า....
"...แหม ชื่อเพราะจริงๆ ฉันมีลูกชาย แต่ก็ยังเล็กๆอยู่ ไม่ช้าจะได้เห็นลูกฉัน ฉันจะพามาเยี่ยม..."
ที่อำเภอโนนไทยนี้ ขณะที่ทั้งสองพระองค์ประทับอยู่บนพลับพลา หญิงจากบ้านคูด่าน อำเภอโนนไทย ชื่อนางปล้อง จาเกาะ อายุ ๒๗ ปี ตั้งครรภ์แก่แล้วก็ยังอุตส่าห์มาเฝ้า และเกิดเจ็บท้องกะทันหัน เพื่อนบ้านประคองจะพาไปสุขศาลาก็ไม่ทัน จึงคลอดบุตรออกมาที่หน้าพลับพลา ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถฯ ทรงปฏิสันถารอยู่กับราษฎร
ออกจากอำเภอโนนไทยแล้ว ขบวนรถพระที่นั่งต้องเดินทางต่อไปยังบ้านหนองบัวโคก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเส้นทางระหว่างนครราชสีมาไปชัยภูมิมีสภาพทรุดโทรมมาก นอกจากทำให้รถทั้งขบวนต้องตลบไปด้วยฝุ่นแล้ว ก่อนถึงสี่แยกหนองบัวโคก รถพระที่นั่งเกิดยางแตกเพราะถูกตะปูตำ ทั้งสองพระองค์ต้องเปลี่ยนไปประทับในรถพระที่นั่งสำรอง
ขบวนรถพระที่นั่งมาถึงจังหวัดชัยภูมิเมื่อเวลา ๑๗.๐๐ น. มีราษฎรทั้งในตัวจังหวัดและมาจากอำเภอภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ บ้านเขว้า คอนสวรรค์ เฝ้ารอรับเสด็จอยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัดไม่ต่ำกว่า ๕๐,๐๐๐ คน หนังสือพิมพ์ไทรายวัน ฉบับวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ รายงานว่า หนึ่งในผู้ที่มาเฝ้า มีนางดวงคำ ธนศรีรังกูร ซึ่งเป็นแม่ยายของอัยการจังหวัด ได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยสำเนียงพื้นเมืองว่า...
"...ข้าน้อยพูดภาษาอีสาน พระองค์ฟังรู้เรื่องบ่..."
ทำให้ทรงพระสรวลและรับสั่งว่า...
"...พอรู้เรื่องจ้ะ..."
แล้วทรงมีพระราชดำรัสถามเด็กหญิงอุดมศิลป์ว่า...
"...หนูเรียนหนังสือชั้นไหน อยู่โรงเรียนอะไร อายุเท่าไหร่..."
เมื่อเด็กทูลตอบก็ทรงชมว่า...
"...เรียนเก่งจริง..."
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปถึงชายชราอายุ ๘๐ ปีคนหนึ่ง ทรงรับสั่งถามว่า...
"...ลุงอยู่ที่ไหน..."
ชายชราพนมมือตอบด้วยเสียงสั่นว่า...
"...อยู่ที่ตำบลแจ้งคร้อครับ..."
ทรงถามว่า...
"...ไกลไหมจ๊ะลุง..."
ชายชราทูลตอบว่า...
"..เดินทาง ๒ คืน..."
ทรงรับสั่งถามอีกว่า...
"...เดินทางมาด้วยพาหนะอะไร..."
ลุงตอบว่า...
"...ย่างมา ๒ วัน ๒ คืน..."
ทรงหันไปถามพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี เมื่อทรงทราบความหมายของคำว่า "ย่าง"แล้ว จึงรับสั่งถามว่า...
"...ลุงแก่แล้วไม่เหนื่อยหรือ..."
ชายชราทำตาลุกโพลง ยกมือขึ้นท่วมหัว ทูลตอบว่า...
"...เจ้าประคุณทูนหัว ไม่เหนื่อยหรอก อยากเห็นเจ้าประคุณ ขอหอมมือจักหน่อยจะได้บ่..."
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงยื่นพระหัตถ์ให้ชายชรา ซึ่งยกพระหัตถ์ขึ้นทูลเหนือหัว พร้อมกับก้มดมที่พระหัตถ์ แล้วกล่าวว่า...
"...จะตายก็ไม่ว่า เกิดมาชาตินี้สมปรารถนาแล้ว..."
ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงแย้มพระสรวล
ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถฯ ทรงทักทายกลุ่มผู้หญิง เด็ก และคนชรา ตอนหนึ่งทรงมีพระราชปฏิสันถารกับหญิงชราที่เอาผ้าปูพื้นให้ประทับรอยพระบาท ซึ่งทรงพระกรุณาตามความประสงค์ และตรัสถามว่า...
"ไม่กลัวเปื้อนหรือยาย..."
หญิงชราก้มลงกราบแทบพระบาท ทั้งยังขอแตะพระบาท เมื่อทรงอนุญาตหญิงชราก็ใช้มือลูบขึ้นลูบลงพร้อมกับกล่าวว่า...
"...แหม เนื้อนิ่มเหลือเกิน สมกับเป็นพระราชินีแท้ๆ ยังสาวสวยอยู่นะเจ้าประคุณทูนหัว ขอให้เจริญๆยิ่งๆเถิด..."
ที่จังหวัดขอนแก่น ทรงเสด็จฯลงเยี่ยมราษฎรที่สนามหน้าศาลากลาง เพื่อให้ประชาชนเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด ประชาชนต่างเบียดเสียดกัน จนทำให้เก้าอี้ที่ตั้งไว้ให้ประชาชนนั่งเฝ้ารับเสด็จ ได้ล้มลงเพราะแรงดันของฝูงชน ผู้นำเสด็จฯต่างต้องนั่งคุกเข่าลงเพื่อกันมิให้ประชาชนเข้ามาชิดถึงพระองค์ แถวรับเสด็จรวนเรอยู่พักหนึ่งก็กลับคืนสู่ความเรียบร้อย
ในกลุ่มราษฎรที่เฝ้ารับเสด็จอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่นนี้ มีราษฎรกลุ่มหนึ่งไม่ใช่คนอีสาน ปรากฏว่ามาจากจังหวัดนครปฐม จะทูลเกล้าฯถวายของตั้งแต่เสด็จนครปฐมแล้ว แต่ถวายไม่ได้ จึงต้องตามมา
"...ตั้งใจว่าก่อนตายจะต้องถวายให้ได้ นี่ก็มากันสิบกว่าคน ตอนนี้สบายใจแล้ว ได้ทูลเกล้าฯถวายสมปรารถนา...." หนึ่งในกลุ่มบอกนักข่าว
เช้าตรู่วันที่ ๖ พฤศจิกายน ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปที่สนามหน้าโรงเรียนสนามบิน ซึ่งกองทัพอากาศจัดเฮลิคอปเตอร์ถวาย เพื่อเสด็จขึ้นยอดภูกระดึง นายทองหนัก สุวรรณสิงห์ อดีต ส.ส.เลย ได้เล่าว่า เดิมได้เตรียมช้างสำหรับพระองค์ละเชือก แต่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถฯ มีพระราชประสงค์ประทับช้างเชือกเดียวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขบวนเสด็จฯครั้งนี้มีทหารถือปืนเตรียมพร้อมเดินอยู่ข้างช้างฝ่ายละ ๑๐ คน ห่างประมาณ ๕ วา เสียงหญ้าแห้งเดินทำให้ช้างตื่น ตัวส่ายไปส่ายมา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถฯทรงรับสั่งว่า...
"...ทำไมเขาจึงเดินซิกแซกแบบนี้..."
นายทองหนักซึ่งทำหน้าที่ควาญช้างจึงได้หยุดชะงัก แล้วโบกมือให้ทหารที่อยู่ทั้งสองข้างออกไปห่างๆ ช้างจึงเดินเป็นปกติ ทรงรับสั่งว่า...
"...อ๋อ เขากลัว..."
มีพระกระแสรับสั่งกับนายทองหนักอีกว่า...
"...โซ่นี้ผูกขาเขาไว้ทำไม เดินลำบาก..."
นายทองหนักกราบทูลว่า...
"...ข้าพระพุทธเจ้าได้เตรียมพร้อมไว้เผื่อบางทีช้างอาจจะตื่นตกใจ วิ่งไปก็เกิดอันตรายได้ ถ้าช้างตื่นตกใจทำท่าจะวิ่ง จะได้ทิ้งโซ่นี้ให้ควาญช้างผูกกับต้นไม้ วิ่งไปไม่ได้..."
ทรงมีรับสั่งว่า...
"...อ๋อ รอบคอบดีนะ..."
ส่วน "พ่อเบี่ยง" นายยัน ศิริกันรัตน์ ควาญช้างอีกเชือกหนึ่งที่นำเสด็จทอดพระเนตรธรรมชาติบนภูกระดึง เล่าว่า คราวหนึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถฯ ทรงเหยียดพระบาทมาถูกศีรษะ ทรงรับสั่งว่า...
"...เท้าฉันถูกตาใช่ไหม ขอโทษนะ..."
พ่อเบี่ยงกราบทูลว่า...
"...ไม่เป็นไรครับ..."
และมาเล่าภายหลังว่า ดีใจมากที่ได้ถวายการรับใช้ในการเสด็จครั้งนี้ พระบาทถูกหัวก็ถือว่าเป็นมงคล
"...บ่ไข้บ่ป่วย เพราะท่านได้เหยียบหัว...." พ่อเบี่ยงว่า
ในตอนบ่าย เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาลงที่สนามหญ้าหน้าโรงเรียนบ้านสีฐาน อำเภอวังสะพุง มีราษฎรมารอเฝ้าและถวายของป่าแปลกๆ เช่น นกเขา ไก่ฟ้า กระจง กล้วยไม้ เป็นต้น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถฯ ได้ทรงไต่ถามถึงการเดินทางมารับเสด็จของชาวบ้าน ก็ทรงได้รับคำตอบว่า...
"...มาแต่หลังภูโน้น เดินมาแต่ ๒-๓ วันก่อน อยากเห็นให้เต็มตา วันนี้มารอแต่เช้า..."
บางคนก็ตอบเป็นภาษาท้องถิ่นว่า...
"...ฮ้อนปานใดก็ฮีดได้ ขอเห็นเจ้าอยู่หัวคักๆเถอะ..."
ระหว่างทางที่เข้าจังหวัดเลยนี้ รถพระที่นั่งมาจากทางทิศเหนือ และจะต้องเลี้ยวซ้าย แต่ตำรวจจราจรที่รักษาการณ์ตรงทางแยก ซึ่งยืนอยู่ข้างซ้ายของถนน เกิดผิดคำสั่งที่ไม่ต้องทำความเคารพ และลีลามากไปหน่อย ได้ยื่นแขนตรงไปข้างหน้าก่อนจะยกขึ้นแตะหมวก ถวายความเคารพอย่างเข้มแข็ง คนขับรถเลยนึกว่าให้สัญญาณเลี้ยวไปทางขวา จึงเลี้ยวไปตามมือตำรวจ ทำให้เสียเวลาเป็นชั่วโมงกว่าขบวนรถพระที่นั่งจะกลับรถเมื่อรู้ว่าผิดเส้นทาง
เมื่อขบวนรถพระที่นั่งมาถึงจังหวัดเลย เป็นเวลา ๑๙.๐๐ น.เศษแล้ว เลยเวลาตามหมายกำหนดการไปมาก อากาศมืดมัว แต่ปรากฏว่าสองข้างถนนไปสู่ศาลากลาง ประชาชนได้ตั้งโต๊ะบูชาเรียงรายไว้เป็นแถว ต่างจุดธูปเทียน ทำให้แสงเทียนแวววาวอยู่ในความมืดทั้งสองฟากถนน เป็นภาพที่งดงาม ประชาชนต่างนั่งพนมมือขณะที่รถพระที่นั่งผ่าน
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : fb วันวาน เก่าเก่าที่คิดถึง
.....
ความศักดิ์สิทธิ์ภายในพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอรุณราชวราราม
งานพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื่องในวาระครบรอบ ๒๕๕ ปีกรุงธนบุรี และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม มีอายุวัฒนะมงคล ๘๐ ปี โดยประกอบพิธีภายในโบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา
ผมอาจารย์ไก่ ทิพยจักร ได้พาหมู่คณะเข้าร่วมพิธีมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ ซึ่งจากบรรยากาศและการสัมผัสกับกระแสความศักดิ์สิทธิ์จากภายในงานครั้งนี้ พบว่าคณะศิษย์แต่ละคนต่างเล่าถึงความรู้สึกจากภาายในงานต่างๆกัน บางท่านเล่าว่า เมื่อเข้ามาสู่ปริมณฑลพิธีก็รู้สึกถึงพลังงานที่อัดแน่น เป็นเหล่าเทพเทวาที่มาประชุมกัน จนรู้สึกสั่นน้อยๆ และอาการต่างๆอีกมาก
และอีกหลายท่านเล่าว่าขนลุก เกิดปีติ บางท่านรู้สึกถึงกระแสพลังงานจากเบื้องบนที่เชื่อมลงมาสู่ปริมณฑล อาการความสัมผัสทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก หนึ่งในงานวันนั้นผมเชิญอาจารย์อองตวนชาวฝรั่งเศษที่สนใจทางจิตศาสตร์ ท่านเล่าให้ฟังว่า ในขณะเริ่มพิธีในโบสถ์น้อย ท่านสัมผัสกระแสพลังงานดิ่งลงมาจากเบื้องบนเป็นพลังงานที่รุนแรงทรงพลังมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการขนลุกสะท้านไปทั้งตัว
ส่วนตัวผมนั้นรู้สึกทางใจถึงเทพยดาที่ลงมาในงานและมาร่วมอนุโมทนา เป็นพลังงานที่แรงมาก ตั้งแต่ก่อนเริ่มพิธีจนจบพิธี ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จลงมาแน่นอนพร้อมทั้งเหล่าทหารกล้าและบรรพบุรุษต่างมาร่วมอนุโมทนาในงานครั้งนี้และร่วมปลุกเสกแผ่พลังแห่งความกล้าหาญ ชัยชนะลงสู่มงคลวัตถุเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ผมถามในใจว่าวัตถุมงคลนี้จะดีด้านใด ก็ได้รับคำตอบว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้จะไม่จน ไม่แพ้ จะมีพลังจิตพลังกายกล้าหาญ มีตบะอำนาจ ไม่หวั่นเกรงภยันอันตรายและไม่มีศัตรูหมู่มารภูติผีปีศาจใดๆมาทำร้ายมากล้ำกรายได้ จะเป็นผู้มีชัยชนะอยู่เหนืออุปสรรค อยู่เหนือความจน อยู่เหนือศัตรูคู่แข่งทั้งหลาย และตลอดที่อยู่บนแผ่นดินไทยจะร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายดีมีกำไรเสมอไป
นี่คือสิ่งที่ผมสื่อได้จากภายในวันงานและจากคำบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ที่มาในวันนั้น จึงขอยืนยันด้วยความรู้สึกจากภายในตัวผมว่าวัตถุมงคลรุ่นมหาเศรษฐีที่จัดสร้างครั้งนี้ สมเด็จพ่อพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารกล้าอีกทั้งบรรพบุรุษลงมาเสกประสิทธิด้วยพระองค์เองเป็นวัตถุมงคลที่เข้มขลังมาก ทรงพลังมาก มีอานุภาพมากเกินกว่าจะพรรณาได้ทั้งหมด ทั้งนี้ใครได้ไว้ถือเป็นบุญเป็นมหามงคลของชีวิตผู้นั้นโดยแท้
ท่านผู้ศรัทธาสามารถร่วมบุญบูชาได้ที่ ศาลาอรุณนราภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม สอบถามประชาสัมพันธ์ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG
ปล.กำหนดการแจกฟรี พระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.สำหรับบุคคลทั่วไป กำหนดให้มีการแจกฟรีเพียงครั้งเดียว ณ พระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม 2566 หลังเสร็จพิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก
2.สำหรับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากทั่วประเทศ ที่สนใจจะขอรับเป็นสื่อกลางในสะพานบุญครั้งนี้ ติดต่อที่ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG
ทิพยจักร
18 ธค 2566
วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
วัตถุประสงค์
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ
รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท (หมดแล้ว)
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท
ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท (หมดแล้ว)
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท
ลำดับที่ 3 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท
ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน) บูชาชุดละ 12,500 บาท (หมดแล้ว)
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน)
รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี
4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม
7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)
รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ
ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)
ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์
รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส
คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์ ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์ ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)