ข่าวประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย นำผู้เสียหาย กว่า 50 คน จากคดีแชร์ลูกโซ่ต่างๆหลายคดี เข้าร้องขอความช่วยเหลือต่อ กรมคุ้มครองสิทธิแลเสรีภาพ - kachon.com

ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย นำผู้เสียหาย กว่า 50 คน จากคดีแชร์ลูกโซ่ต่างๆหลายคดี เข้าร้องขอความช่วยเหลือต่อ กรมคุ้มครองสิทธิแลเสรีภาพ
กะฉ่อนวาไรตี้

photodune-2043745-college-student-s

วันนี้ 8 ก.พ.61 เวลา 13.30 น ที่ กองพิทักษ์สิทธิ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ชั้น 2 ศูนย์ราชการอาคาร เอ ถนนแจ้งวัฒนะ นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย นำผู้เสียหาย กว่า 50 คน จากคดีแชร์ลูกโซ่ต่างๆหลายคดี อาทิ แชร์เงินดิจิตอลบริตคอยน์ แชร์น้ำมันตะเกียงหอมระเหย เป็นต้น รวมมูลค่าความเสียหาย กว่าร้อยล้านบาท เข้าร้องขอความช่วยเหลือต่อ กรมคุ้มครองสิทธิแลเสรีภาพ เพื่อให้หาแนวทางมาตรการช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหยื่อแชร์ลูกโซ่ดิจิตอล และผู้เสียหายแชร์ลูกโซ่กลุ่มอื่นๆ หลังผู้เสียหายหลายรายกู้หนี้ยืมสินมาลงทุน จนหมดเนื้อหมดตัว เดือดร้อนหนัก โดยมีนายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ เป็นผู้รับเรื่อง

นายเกิดโชค กล่าวว่า เบื้องต้น ได้รับเรื่องและจะส่งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ซึ่งวันนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่ มารับเรื่อง ของผู้เสียหาย ซึ่งมีจำนวนเยอะจึงต้องแบ่งกลุ่มในการทำเรื่องดังกล่าว โดยภายหลัง น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ ได้ลงมาเพื่อสั่งการช่วยเหลือผู้เสียหายอีกทางหนึ่ง

ด้านนายสามารถ กล่าวว่า คดีแชร์ลูกโซ่ หลอกผู้เสียหายทีเป็นพันเป็นหมื่นคน แต่ไม่มี หน่วยงานรับเรื่องคดีเป็นเรื่องราว วันนี้ผู้เสียหายหลายคน ถูกหลอกลงทุนหมดตัว ทั้งกู้หนี้ยืมสิน ทั้งให้กู้มาลงทุน จึงมาขอความกรุณากรมพิทักษ์สิทธิช่วยดำเนินการค่าเยียวยาเหยื่ออีกทางหนึ่ง ซึ่งต้องขอขอบคุณอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิฯ ที่ลงมาสั่งการกำชับให้ช่วยเหลือเหยื่อด้วยตนเอง ทั้งนี้ยังได้เสนอมาตรการปราบปรามแชร์ลูกโซ่อีก 6 ข้อ เป็นแนวทางแก่กรมคุ้มครองสิทธิฯ และรัฐบาลให้พิจารณาเพื่อทำลายระบบแชร์ลูกโซ่ให้หมดสิ้น คือ

1. ให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพิ่มโทษผู้กระทำความผิดในฐานฉ้อโกงประชาชน ที่แต่เดิมมีอัตราโทษเพียงแค่ 3-5 ปีเป็น 7-14 ปี เพื่อทำให้มิจฉาชีพติดคุกอย่างต่ำ 50 ปี

2.ภาครัฐควรมีหน่วยงานลักษณะ “One Stop Service บริการแบบเบ็ดเสร็จรับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อในธุรกิจแชร์ลูกโซ่หรือฉ้อโกงโดยเฉพาะ เนื่องจากปัจจุบันประชาชนไม่ทราบที่แจ้งความอย่างชัดเจน

3. รัฐบาลควรมีปฏิบัติการเชิงรุก มีกระบวนการเยียวยาผู้เสียหายให้รวดเร็วขึ้น รวมถึงการสร้างการรับรู้ แสวงหาตรวจสอบและจับกุมผู้กระทำความผิดที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่หรือฉ้อโกงประชาชน ไม่รอให้เกิดความเสียหายจำนวนมหาศาลขึ้นก่อน

4.ต้องคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหาคดีแชร์ลูกโซ่ทุกคดี เพื่อให้มิจฉาชีพเกรงกลัวต่อกฏหมายที่ผ่านมา ให้ประกันตัวก็หลบหนี หรือไม่ก็ไปหลอกลวงคนอื่นซ้ำอีก เพราะไม่เกรงกลัวต่อบทลงโทษ มีให้เห็นมาแล้วคดีเติมเงินมือถือ และ ในอดีตผ่านมาเช่นคดีแชร์บลิสเชอร์

5. ต้องมีเจ้าภาพทำคดีล้มละลาย เพราะทุกวันนี้ไม่มีใครทำสำนวนฟ้องล้มละลาย จึงทำให้คดีล่าช้า ใช้เวลายาวนานถึง 30 ปี กว่าจะได้รับเงินคืน เช่นคดีแชร์แม่นกแก้ว ที่ผู้เสียหายแจ้งความเมื่อปี พ.ศ.2530 แต่เพิ่งได้รับเงินคืนเมื่อเดือนกรกฏาคม พศ 2560 ที่ผ่านมา

6. ถ้าคดีแชร์ลูกโซ่ ที่มีผู้เสียหายหลายพันคน ขอให้ประหารชีวิต ไม่ต้องจำคุก

ซึ่งเชื่อว่า ถ้าอัตราโทษที่เพิ่มขึ้นจะทำให้คนเกรงกลัว ต่อกฎหมายมากขึ้นและจะกระทำผิดน้อยลง

 

สำนักข่าวกะฉ่อนดอทคอม  ชายนพ by กะฉ่อน  รายงาน