ข่าวพระตำหนักพญาไท “บรรยากาศแห่งบ้านไร่นาสวน” ช่วงเวลาแห่งความสุขของ ร.5 - kachon.com

พระตำหนักพญาไท “บรรยากาศแห่งบ้านไร่นาสวน” ช่วงเวลาแห่งความสุขของ ร.5
กะฉ่อนวาไรตี้

photodune-2043745-college-student-s

สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงดำนาที่นาหลวงพญาไท

พระตำหนักพญาไท “บรรยากาศแห่งบ้านไร่นาสวน” ช่วงเวลาแห่งความสุขของ ร.5

“—ท้องไม่ค่อยจะสบาย จะรีบกลับ—” เป็นพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ที่พระตำหนักพญาไท ซึ่งเป็นสถานที่ที่โปรดปรานเสด็จฯ มาประทับพักพระราชอิริยาบถเสมอ ๆ ในระยะท้ายสุดแห่งพระชนมชีพ อันนับเป็นพระราชดำรัสครั้งสุดท้าย ณ สถานที่แห่งนี้ เพราะเมื่อเสด็จฯ กลับก็ทรงพระประชวร เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453

การสร้างพระตำหนักพญาไท สืบเนื่องมาจากพื้นที่ที่โปรดจัดไว้เป็นนาหลวงในวังสวนดุสิตนั้นโปรดให้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นท้องพระโรงสำหรับวัง จึงโปรดให้จัดหาที่นาหลวงแห่งใหม่ขึ้นในบริเวณทุ่งพญาไทซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวังสวนดุสิตมากนัก ทุ่งพญาไทซึ่งเป็นคลองขุดแคบ ๆ แยกมาจากคลองสามเสนทอดตัวผ่านกลางทุ่งไปบรรจบกับคลองมหานาค

ครั้งที่โปรดให้เตรียมที่สำหรับทำนาหลวงนั้น โปรดให้สร้างพลับพลาประทับชั่วคราวเพื่อทอดพระเนตรการทำนา เมื่อเสด็จฯ ประทับก็โปรดอากาศกลางทุ่งซึ่งมีลมพัดโกรกเย็นสบายสดชื่นตลอดวัน ทำให้พระนาสิกโล่งหายพระทัยสะดวกและปลอดโปร่ง จึงมีพระราชดำริให้สร้างเป็นนาและสวนสำหรับปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ดังที่เคยทอดพระเนตรเห็นในยุโรป

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสนพระทัย และเอาพระทัยใส่ในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทุ่งพญาไทให้เป็นไปตามพระราชดำริ เริ่มจากการขุดขยายคลองพญาไทให้ลึกและกว้างเพื่อชักน้ำเข้าสู่ที่นาที่สวน และขุดแยกให้ผ่านเข้าไปตามที่โปรดกำหนดให้เป็นสวนผัก สวนดอกไม้ พระตำหนักฝ่ายหน้าฝ่ายใน และนาข้าว ปลายคลองไปสิ้นสุดที่นาหลวง โดยโปรดให้ขุดเป็นสระใหญ่และลึกสำหรับเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี และยังโปรดให้ตัดถนนซังฮี้จากวังสวนดุสิตผ่านเข้ามาบริเวณทุ่งพญาไท ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาสั่งการ ความตอนหนึ่งว่า

“—ให้ขุดคลองพระยาไทย ด้านเหนือถนนซังฮี้ ซึ่งจะปลูกเข้าให้มีน้ำเดินได้ตลอดถึงคลองสามเสน ให้ปลูกพลับพลาข้างหน้าหลังหนึ่ง ข้างในหลังหนึ่ง ข้ามคนละฟากคลองเยื้องกันหน่อยหนึ่ง มีสะพานแล่นถึงกัน แลเรือนบริวารซึ่งไม่สำคัญ ที่ ๆ ปลูกพลับพลา 2 หลังนี้ จึงเปนในสวนหลวงหลังหนึ่ง เปนที่นาเคียงสวนหลังหนึ่ง—“

พระตำหนักหลังนอก ลักษณะครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น รูปลักษณ์เรียบง่ายตามแบบบ้านชาวนาในชนบทของประเทศทางยุโรป โดยโปรดประยุกต์ให้เข้ากับภูมิประเทศของไทย เช่นหลังคากระเบื้องไม้สัก ชายคามีเท้าแขนไม้สลัก พื้นปูหินอ่อนและกระเบื้องลาย มีหน้าต่างโดยรอบเพื่อจะได้สัมผัสวิวทิวทัศน์และสายลมรอบด้าน พระตำหนักหลังในมีรูปแบบและใช้วัสดุเช่นเดียวกับพระตำหนักหลังนอก แต่ร่มรื่นงดงามด้วยไม้ยืนต้นและสวนดอกไม้ เพิ่มความงามชื่นด้วยสระบัวขนาดใหญ่หลังพระตำหนัก

ในส่วนที่เป็นสวนครัวอยู่ถัดจากพระตำหนักหลังนอกไปจนจดเขตวัดมะกอก โปรดให้ขุดท้องร่องปลูกผักนานาชนิด เป็นสวนผักขนาดใหญ่ที่สะอาดสวยงาม มีท้องร่องซึ่งมีน้ำใสเต็มเปี่ยม มีถนนดินเล็ก ๆ ผ่านอย่างมีระเบียบ มีกรงเลี้ยงไก่เล็กฮอร์นขาวไว้ 12 กรงรวมหลายร้อยตัว ในส่วนที่เป็นนาหลวงโปรดให้ขุดคลองคูนาและแต่งคันนากว้าง 5 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร ขุดบ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ 2 บ่อ ขุดร่องทำไร่สับปะรด 30 ร่อง

พระตำหนักพญาไทจึงมีบรรยากาศแห่งบ้านไร่นาสวนอย่างครบครัน มีทั้งความร่มรื่น รับลมท้องทุ่งเย็นสบายตลอดวัน ในคลองคูซึ่งคดเคี้ยวซอกซอนไปตามท้องทุ่งและสวนผักก็มีน้ำใสเต็มเปี่ยม ในสระใหญ่ก็มีบัวบานสะพรั่ง ในสวนครัวก็มีพืชผักงามสดอร่อย ในเล้าไก่มีไก่พันธุ์ดีที่ให้ไข่สด ในน้ำมีปลาและในนามีข้าว ด้วยบรรยากาศดังที่ว่าทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมเหสี เจ้าจอม และข้าราชสำนักทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในพากันตื่นเต้นกับบรรยากาศดังกล่าว จึงโปรดเสด็จและตามเสด็จมาที่วังพญาไททุกวัน โดยเฉพาะในฤดูทำนา สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และข้าราชบริพารจะเสด็จมาที่ตำหนักพญาไทแต่เช้าทุกวัน

หม่อมเจ้าหญิงสิบพันพารเสนอ โสณกุล เล่าถึงบรรยากาศของนาหลวงพญาไทในช่วงนี้ไว้ว่า

“—ถ้าเป็นฤดูทำนา สมเด็จฯ มักเสด็จไปในตอนเช้า ทรงดำนากับพระราชวงศ์ฝ่ายในจนถึงกลางวัน ทรงพักสรงน้ำแล้วเสวยพระกระยาหารข้าวห่อที่โรงนา—“

ในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอาพระราชหฤทัยใส่กับการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทุ่งพญาไทตามพระราชดำริ ขณะดำเนินการจึงต้องเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรเนือง ๆ โดยโปรดขับรถไฟฟ้าจากวังสวนดุสิต และเมื่อวังพญาไทเป็นรูปร่างขึ้น ก็ยิ่งพอพระราชหฤทัย โปรดบรรยากาศและอากาศซึ่งโปร่งโล่ง ลมพัดโชยเย็นสบายตลอดทั้งวัน

ดังนั้น หลังจากเสร็จพระราชกิจบ้านเมืองจึงมักเสด็จประพาสวังพญาไทแทบทุกเย็น และในวันหยุดก็จะเสด็จฯ มาประทับพักผ่อนสำราญพระราชอิริยาบถทอดพระเนตรการทำนา ทำสวน ปลูกผัก เลี้ยงไก่ และเสวยพระกระยาหารง่าย ๆ ประกอบด้วย ผักสด เนื้อสัตว์ ที่ปลูกเลี้ยงเอง

นับเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะการเสด็จประทับทอดพระเนตรกิจการต่าง ๆ ที่พระตำหนักพญาไท เป็นเวลาที่ทรงเพลิดเพลินอากาศที่โปร่งโล่งทำให้ทรงสบายพระวรกายและหายพระทัยสะดวก พระกระยาหารง่าย ๆ สด ๆ ที่เสวยอย่างไม่มีพิธีรีตองสบาย ๆ ทำให้เสวยได้มาก และการได้ตรัสเรื่องต่่าง ๆ กับพระบรมวงศานุวงศ์ใกล้ชิด ทำให้สบายพระราชหฤทัย จึงโปรดเสด็จฯ ยังพระตำหนักพญาไททุกวันเมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจ

แต่ความสุขสำราญในพระองค์ดำเนินไปไม่นานนัก เพราะในเย็นวันที่ 16 ตุลาคม ได้ทรงขับรถไฟฟ้าประพาสพระตำหนักพญาไทเช่นเคย แต่ในวันนั้นทรงขับรถพระที่นั่งทอดพระเนตรทั่วบริเวณ ทอดพระเนตรการเลี้ยงไก่แต่มิได้เสด็จลงจากรถพระที่นั่ง ดังที่เคยทรงปฏิบัติ มีรับสั่งว่า “—ท้องไม่ค่อยจะสบาย จะรีบกลับ—“ จึงเสด็จฯ กลับเร็วกว่าปกติ และก็มิได้เสด็จฯ มาพระตำหนักพญาไทอีกเลย

ท่านผู้หญิงขจรภะรตราชา ข้าหลวงผู้รับใช้ใกล้ชิดสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ช่วงนี้ไว้ว่า วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทรงคอยรับเสด็จอยู่ ณ วังพญาไท ทรงคอยอยู่นานจนทรงออกพระโอษฐ์บ่นว่า “ไม่มาก็ไม่บอก”

แต่ครู่เดียวก็มีมหาดเล็กอัญเชิญพระราชหัตถเลขามีข้อความทรงพระประชวรเสด็จมาไม่ได้ สมเด็จพระบรมราชินีนาถจึงรีบเสด็จฯ กลับและอีกเพียง 2 วันต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคต

ขอขอบพระคุณภาพ / ข้อมูล
เรียบเรียงโดย : Yoong Ja
Cr. ศิลปวัฒนธรรม วาทะประวัติศาตร์
: ย้อนอดีตด้วยภาพ
: กลุ่มภาพเก่าในอดีตที่มีคุณค่า
: ค้นหาภาพในอดีต
ที่มา : fb วันวาน เก่าเก่าที่คิดถึง

.....

ความศักดิ์สิทธิ์ภายในพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอรุณราชวราราม

งานพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื่องในวาระครบรอบ ๒๕๕ ปีกรุงธนบุรี และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม มีอายุวัฒนะมงคล ๘๐ ปี โดยประกอบพิธีภายในโบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา 

ผมอาจารย์ไก่ ทิพยจักร ได้พาหมู่คณะเข้าร่วมพิธีมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ ซึ่งจากบรรยากาศและการสัมผัสกับกระแสความศักดิ์สิทธิ์จากภายในงานครั้งนี้ พบว่าคณะศิษย์แต่ละคนต่างเล่าถึงความรู้สึกจากภาายในงานต่างๆกัน บางท่านเล่าว่า เมื่อเข้ามาสู่ปริมณฑลพิธีก็รู้สึกถึงพลังงานที่อัดแน่น เป็นเหล่าเทพเทวาที่มาประชุมกัน จนรู้สึกสั่นน้อยๆ และอาการต่างๆอีกมาก 

และอีกหลายท่านเล่าว่าขนลุก เกิดปีติ บางท่านรู้สึกถึงกระแสพลังงานจากเบื้องบนที่เชื่อมลงมาสู่ปริมณฑล อาการความสัมผัสทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก หนึ่งในงานวันนั้นผมเชิญอาจารย์อองตวนชาวฝรั่งเศษที่สนใจทางจิตศาสตร์ ท่านเล่าให้ฟังว่า ในขณะเริ่มพิธีในโบสถ์น้อย ท่านสัมผัสกระแสพลังงานดิ่งลงมาจากเบื้องบนเป็นพลังงานที่รุนแรงทรงพลังมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการขนลุกสะท้านไปทั้งตัว

ส่วนตัวผมนั้นรู้สึกทางใจถึงเทพยดาที่ลงมาในงานและมาร่วมอนุโมทนา เป็นพลังงานที่แรงมาก ตั้งแต่ก่อนเริ่มพิธีจนจบพิธี ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จลงมาแน่นอนพร้อมทั้งเหล่าทหารกล้าและบรรพบุรุษต่างมาร่วมอนุโมทนาในงานครั้งนี้และร่วมปลุกเสกแผ่พลังแห่งความกล้าหาญ ชัยชนะลงสู่มงคลวัตถุเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผมถามในใจว่าวัตถุมงคลนี้จะดีด้านใด ก็ได้รับคำตอบว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้จะไม่จน ไม่แพ้ จะมีพลังจิตพลังกายกล้าหาญ มีตบะอำนาจ ไม่หวั่นเกรงภยันอันตรายและไม่มีศัตรูหมู่มารภูติผีปีศาจใดๆมาทำร้ายมากล้ำกรายได้ จะเป็นผู้มีชัยชนะอยู่เหนืออุปสรรค อยู่เหนือความจน อยู่เหนือศัตรูคู่แข่งทั้งหลาย  และตลอดที่อยู่บนแผ่นดินไทยจะร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายดีมีกำไรเสมอไป 

นี่คือสิ่งที่ผมสื่อได้จากภายในวันงานและจากคำบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ที่มาในวันนั้น จึงขอยืนยันด้วยความรู้สึกจากภายในตัวผมว่าวัตถุมงคลรุ่นมหาเศรษฐีที่จัดสร้างครั้งนี้ สมเด็จพ่อพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารกล้าอีกทั้งบรรพบุรุษลงมาเสกประสิทธิด้วยพระองค์เองเป็นวัตถุมงคลที่เข้มขลังมาก ทรงพลังมาก มีอานุภาพมากเกินกว่าจะพรรณาได้ทั้งหมด ทั้งนี้ใครได้ไว้ถือเป็นบุญเป็นมหามงคลของชีวิตผู้นั้นโดยแท้

ท่านผู้ศรัทธาสามารถร่วมบุญบูชาได้ที่ ศาลาอรุณนราภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม สอบถามประชาสัมพันธ์  คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ปล.กำหนดการแจกฟรี พระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.สำหรับบุคคลทั่วไป กำหนดให้มีการแจกฟรีเพียงครั้งเดียว ณ พระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม 2566 หลังเสร็จพิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก
2.สำหรับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากทั่วประเทศ ที่สนใจจะขอรับเป็นสื่อกลางในสะพานบุญครั้งนี้ ติดต่อที่ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ทิพยจักร
18 ธค 2566

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  (หมดแล้ว)
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท (หมดแล้ว)
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท (หมดแล้ว)   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)