ข่าว“บุญรุ่ง เต๋งจงดี”เข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น.. พร้อมขอโอกาสได้รับเลือกเป็น สส.เขตลาดกระบัง - kachon.com

“บุญรุ่ง เต๋งจงดี”เข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น.. พร้อมขอโอกาสได้รับเลือกเป็น สส.เขตลาดกระบัง
กะฉ่อนวาไรตี้

photodune-2043745-college-student-s

 

การจะได้รับเลือกให้เป็น สส.ของประชาชน จำเป็นต้องเข้าถึงทุกวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งเรื่องนี้ นายบุญรุ่ง เต๋งจงดี ผู้สมัครหมายเลข 1 นามพรรคพลังประชารัฐ เขตเลือกตั้งที่ 20 เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลำปลาทิว) กรุงเทพมหานคร รู้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงลงพื้นที่ลาดกระบัง ไปยังชุมชนที่มีงานประเพณี รวมถึงการไปเยือนชุมชนชาวมุสลิม และชุมชนชาวมอญ

เมื่อวันที่ 22 เม.ย.66 นายบุญรุ่ง เต๋งจงดี ผู้สมัครหมายเลข 1 นามพรรคพลังประชารัฐ เขตเลือกตั้งที่ 20 เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลำปลาทิว) กรุงเทพมหานคร พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ขอโอกาสพี่น้องประชาชนชาวลาดกระบัง ในการลงคะแนนให้ตัวเองได้เป็น สส.ทำหน้าที่รับใช้ชาวลาดกระบัง โดยเป้าหมายสำหรับวันนี้ คือ ชุมชนมิตรสามัคคีฟื้นนครร่มเกล้าระยะ 4 โซน 10 / ชุมชนเคหะร่มเกล้า โซนหลังคาแดง 201 และเข้าพบผู้นำชาวชุมชนมุสลิม ที่มัสยิดรุ้ลมูฮีบบีน / เคหะร่มเกล้า 36 / เคหะชุมชน ร่มเกล้า โซน 3 / ชุมชนชาวมอญ เลียบคลองมอญ ลาดกระบัง

สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ นายบุญรุ่ง เต๋งจงดี ได้รับโอกาสให้เข้าร่วมงานรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ และสงน้ำพระ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ไทย พร้อมทั้งพูดคุยและรับฟังปัญหาพี่น้องประชาชนที่ร่วมในงาน จากนั้นได้เข้าพบกับผู้นำชุมชนชาวมุสลิม เพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหาและความต้องการของพี่น้องชาวมุสลิม นำมาวางแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาต่อไป หากตนเองได้รับโอกาสเป็น สส.ในเขตพื้นที่ลาดกระบัง

ส่วนในช่วงเย็น มีพิธีสำคัญของชุมชนชาวมอญ ย่านเลียบคลองมอญ ลาดกระบัง เป็นพิธีสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทย-รามัญ ณ ลานชุมชนเลียบคลองมอญ โดยประธานชุมชนให้การต้อนรับนายบุญรุ่ง พร้อมทีมงาน ซึ่งนายบุญรุ่ง ได้รับเกียรติให้ร่วมในการกวนกาละแมของชาวชุมชนมอญ และร่วมรับประทานอาหารของชาวมอญ ที่มีรสชาติความอร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่หารับประทานได้ยาก

นายบุญรุ่ง เต๋งจงดี กล่าวว่า การที่จะเสนอตัวเข้ามาเป็น สส.รับใช้พี่น้องในท้องถิ่นนั้น สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การเข้าถึงทุกกลุ่มชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น เพราะปัญหาต่างๆในแต่ละเขตพื้นที่ อาจจะเหมือนหรืออาจจะมีความแตกต่างกันไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ดังนั้นการลงพื้นที่ไปพบกับผู้นำชุมชนและการร่วมในประเพณีวัฒนธรรมของชาวชุมชน ถือเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาศึกษาและวางกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาต่อไป หากตนได้รับเลือกเป็น สส.ในเขตพื้นที่

หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม ชาย by กะฉ่อน  รายงาน