ข่าวเบื้องหลังเงินค่าที่ดินตั้ง “สถานทูตอังกฤษแห่งแรก” ในสยาม สมัยรัชกาลที่ 4 - kachon.com

เบื้องหลังเงินค่าที่ดินตั้ง “สถานทูตอังกฤษแห่งแรก” ในสยาม สมัยรัชกาลที่ 4
กะฉ่อนวาไรตี้

photodune-2043745-college-student-s

ภาพด้านหน้าสถานกงสุลอังกฤษเดิม ที่ปรากฏอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ริมถนนเจริญกรุงก่อนที่ทางอังกฤษจะขายที่ดินให้กับรัฐบาลไทย และเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินไปซื้อที่ดินผืนใหม่บริเวณสี่แยก ถนนวิทยุตัดกับถนนเพลินจิตในปัจจุบัน (ภาพจาก เทพชู ทับทอง, อนุทินกรุงเทพฯ ภาพแห่งความทรงจ. น. ๒๗๔.)

เบื้องหลังเงินค่าที่ดินตั้ง “สถานทูตอังกฤษแห่งแรก” ในสยาม สมัยรัชกาลที่ 4

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าความสัมพันธ​์ระหว่างไทยกับอังกฤษที่เริ่มขึ้นเกิดจากความสัมพันธ์ทางการค้า ในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ (ค.ศ. ๑๘๕๕) อังกฤษมีการส่ง เซอร์จอห์น เบาว์ริง อัครราชทูตของอังกฤษเชิญพระราชสาส์นมาเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับไทย ซึ่งตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเจรจาครั้งนี้มีการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์กันด้วย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” โดยมีการลงนามสนธิสัญญาต่อกันเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘อังกฤษกับไทยเริ่มมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่สมัยอยุธยา ความสัมพันธ์ช่วงหนึ่งขาดตอนไปช่วงหลังรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในตอนปลายสมัยอยุธยา และได้กลับมาเริ่มมีความสัมพันธ์กันใหม่สมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๒

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงมีความสำคัญอย่างหนึ่งคือการที่ไทยต้องยอมให้อังกฤษจัดตั้งสถานกงสุลเพื่อใช้เป็นสถานที่พิจารณาคดีคนในบังคับอังกฤษ โดยไม่ต้องขึ้นศาลไทย ในปี ๒๓๙๙ (ค.ศ. ๑๘๕๖) ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาแล้วรัฐบาลอังกฤษได้ส่งนาย ซี.บี. ฮิลเลียร์ (C.B.Hillier) มาเป็นกงสุลคนแรกและต้องหาสถานที่ก่อสร้างกงสุลขึ้น ซึ่งขณะนั้นในกรุงเทพฯ ยังมีการคมนาคมแบบอาศัยแม่น้ำลำคลองเป็นหลักยังไม่มีการตัดถนน จึงมีการเลือกที่ดินตั้งสถานกงสุลอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

อาคารไปรษณีย์กลางบนที่ดินสถานกงสุลอังกฤษเดิม ภาพถ่ายทางเครื่องบิน (ภาพจาก เทพชู ทับทอง, ภาพถ่ายประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ ย้อนยุค, น. ๙๑)

การตั้งอาคารตามพื้นที่ดินที่ต่างๆ แน่นอนอยู่แล้วว่าที่ดินที่มีเจ้าของนับเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าเป็นแน่ สำหรับพื้นที่ที่ทางอังกฤษต้องการนั้นนับเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีมูลค่าพอสมควรในยุคสมัยนั้นซึ่งก็มีราคาที่ถูกกำหนดไว้อยู่แล้ว การมาตั้งอาคารตามสถานที่นั้นต้องมีการซื้อขายกันเป็นเรื่องธรรมดาจึงมีการกล่าวถึงราคาที่ดิน ตามที่มีหลักฐานพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๔ ทรงมีไปถึงนายฮิลเลียร์ไว้ว่า

“ส่วนใหญ่ของที่ดินใกล้เคียงกับสถานกงสุลโปรตุเกสนั้นเป็นของชาวมาเลย์และพม่า เราจะดำเนินการให้เจ้าของที่ดินเหล่านั้นขายที่ดินให้กับท่านในราคาตารางวาละ ๑ บาท หรือต่ำกว่านั้นตามกฎหมายใหม่ของสยามและราชประเพณี แต่เรามีความลำบากเล็กน้อยเกี่ยวกับส่วนหนึ่งของที่ดินที่ท่านพอใจซึ่งเป็นของพระยาบรบาลสมบัติซึ่งเป็นขุนนางขึ้นกับพระเจ้าอยู่หัวองค์ที่ ๒ ซึ่งเราไม่สามารถจะดำเนินการให้ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองขายในราคาดังกล่าวได้”

แต่ปรากฏว่าขณะนั้นทางกงสุลไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าที่ดินที่ต้องการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานเงินยืมให้เพื่อดำเนินการซื้อที่ดิน การดำเนินการซื้อที่ดินเป็นไปโดยไม่ราบรื่นนัก โดยมีคนในบังคับของอังกฤษคนหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งเป็นการผิดกฎหมาย ทำให้พระเจ้าอยู่หัวกริ้วและลงทัณฑ์โดยการโบย ซึ่งทำให้กงสุลอังกฤษประท้วงว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดสนธิสัญญาที่เพิ่งตกลงกัน เรื่องจึงลงเอยโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินดังกล่าวให้กับทางอังกฤษ ดังปรากฏในจดหมาย ลงวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ (ค.ศ. ๑๘๕๗) จากลอร์ด แคลเรนดอน (Lord Clarendon) ถึงนายชาร์ลส์ เบลล์ (Charles Bell) แห่งสถานกงสุลอังกฤษ มีสาระสรุปได้ว่า

“เราได้รับหนังสือของท่านฉบับที่ ๒๙ ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ศกที่แล้ว ระบุว่าพระเจ้าอยู่หัวองค์ที่ ๑ ได้ทรงแจ้งท่านว่าเป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ที่จะทรงมอบที่ดินที่เลือกโดยอดีตกงสุลฮิลเลียร์ สำหรับเป็นสถานกงสุลอังกฤษ โดยจะมีประกาศในเวลาเดียวกันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นการมอบให้เพื่อชดเชยการที่มีการจับกุมและประหารชีวิตคนในบังคับของอังกฤษ และพระองค์ทรงให้คำมั่นว่าจะไม่มีการละเมิดสนธิสัญญาในลักษณะนี้อีก ท่านโปรดกราบทูลพระเจ้าอยู่หัวองค์ที่ ๑ ว่า พระราชประสงค์ดังกล่าวเป็นที่พอใจของรัฐบาลของสมเด็จพระราชินี…”

ขณะเดียวกันไม่มีการกล่าวถึงและคืนเงินที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ยืมเพื่อดำเนินการซื้อที่ดินผืนนี้แต่อย่างใด


อ้างอิง

“แผ่นดินทองที่ไม่ใช่ของไทย : ที่ดินสถานทูตอังกฤษ”โดย ธโนทัย สุขทิศ. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ กรกฎาคม 2549

ดู Office of the Prime Minister. The Committee for the Publication of Historical Documents. Foreign Records of the Bangkok Period up to A.D. 1932, A.D. 1982, p. 39-41.

๒ ที่เดียวกัน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.silpa-mag.com/

.......

บารมีเหรียญพระเจ้าตากชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี ช่วยชีวิตหนุ่มใหญ่ให้รอดตายจากเหตุรถพลิกคว่ำ
https://sacred.kachon.com/353935

.......

ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ(คลิ๊ก)
https://sacred.kachon.com/353522

.....

ร้านเช่าบูชาวัตถุมงคล by กะฉ่อนดอทคอม(คลิ๊ก)
https://shop.kachon.com

.....

แผนที่การเดินทาง ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ
https://maps.app.goo.gl/bkTe1MN4d8v8hicW8
.....
https://lin.ee/C9eHtP8

 

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก