ข่าวมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จัดพิธีลงนามความร่วมมือ MOU “โครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ เพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ” ร่ว - kachon.com

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จัดพิธีลงนามความร่วมมือ MOU “โครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ เพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ” ร่ว
กะฉ่อนวาไรตี้

photodune-2043745-college-student-s

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “โครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติเพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ” ร่วมกับภาคีเครือข่าย 7 หน่วยงาน ได้แก่

• สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

• กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

• กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

• กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

• การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย

• สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุทกภัยอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมามูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ได้ดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติแล้ว ตามบริเวณพื้นที่เสี่ยงการเกิดภัยต่างๆ เพื่อตรวจวัดสภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝนและส่งข้อมูลทางไกลแบบอัตโนมัติ โดย“โครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติเพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ” เป็นการติดตั้งโทรมาตรครั้งแรกในพื้นที่ป่าอุทยานซึงเป็นป่าต้นน้ำ

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กล่าวว่า การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างยั่งยืนประการหนึ่งก็คือ การเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดภัย ถือเป็นภารกิจที่สำคัญของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ประสบภัยสามารถเตรียมความพร้อม และรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการเกิดอุทกภัยซ้ำซ้อน มูลนิธิฯ เป็นองค์กรการกุศลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการช่วยเหลือประชาชนจากอุทกภัยแบบครบวงจรและยั่งยืน โดยเน้นการเชื่อมโยง สนับสนุน ร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน เพื่อก้าวไปสู่การเป็นตัวอย่างของโลกในการบรรเทาทุกข์และกาพัฒนาแบบยั่งยืน มูลนิธิฯ ตระหนักดีว่าอุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน งานนี้เป็นครั้งแรกในการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นทีป่าต้นน้ำ บริเวณภูเขาและอุทยานที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ จำนวน 510 สถานี เป็นความร่วมมือกันระหว่างมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และภาคีเครือข่าย 7 หน่วยงาน ที่ร่วมกันช่วยเหลือสนับสนุนตกลงที่จะร่วมดำเนินโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ ฯ โครงการนี้จะเป็นโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติทั่วประเทศ ซึ่งโทรมาตรจะทำหน้าที่เป็นตัววัดระดับปริมาณน้ำฝนและส่งข้อมูลผ่านระบบ 4G ไปยังเสาต้นไม้ (Cell Site) ส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งจะมีนักวิชาการจากสสน.คอยมอนิเตอร์ และประมวลผลการวัดระดับปริมาณน้ำ จากนั้นจะส่งข้อความรายงานปริมาณน้ำฝนผ่าน ข้อความ (SMS) ไปยังเครือข่ายชุมชน และหากเกิดปริมาณน้ำฝนที่มีระดับสูงกว่าปกติ ก็จะส่งสัญญานเตือนภัยไปยังวิทยุสื่อสารที่มูลนิธิฯ มอบให้แก่เครือข่ายชุมชนมูลนิธิฯ ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อม ป้องกันใม่ให้เกิดความเสียหาย หรือเกิดความเสียให้น้อยที่สุด ซึ่งนี้คืออีกหนึ่งเครื่องมือในการป้องกันการเกิดเหตุอุทกภัยอย่างยั่งยืนที่มูลนิธิฯ นำมาใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ กล่าว

โดยงานนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการรักษาการแทน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และนายสุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เข้าร่วมลงนามในพิธี

งานนี้ ถือเป็นความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนที่ตระหนักถึงปัญหาอุทกภัยร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในวงกว้าง อีกทั้งยังเป็นการยกระดับระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้กับประชาชน และยังสอดคล้อกับนโยบายของทางมูลนิธิ ฯ ที่ต้องการผนึกระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนเข้าด้วยกันเพื่อบรรเทาทุกข์ที่เกิดจากอุทกภัยอย่างยั่งยืน ผู้ที่สนใจสามารถเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิฯ ได้ที่ 02-0546546 www.friendsofpa.or.th

 

หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม  ชาย by กะฉ่อน  รายงาน